top of page

กลิ่นปาก...เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

30 มิถุนายน 2020

  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
กลิ่นปาก1-01.jpg

             กลิ่นปากเกิดจากอะไรกันนะ? เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันรึเปล่าคะว่าทำไมเราถึงมีกลิ่นปาก เพราะมั่นใจสุด ๆ ว่าแปรงฟันมาอย่างสะอาดหมดจดแล้ว แต่เวลาผ่านไปไม่นานก็มีกลิ่นปากมากวนใจจนไม่กล้าอ้าปากคุยกับใครเลยทีเดียว เรามาไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ ว่ากลิ่นปากจะเกิดจากปัจจัยอะไรได้บ้าง

กลิ่นปากที่เกิดจากปัจจัยภายในช่องปาก

เริ่มกันจากปัจจัยที่อยู่ใกล้ตัวเราที่สุดเลย ซึ่งก็คือ ช่องปากของเรานั่นเองค่ะ เซนิโทนี่ได้รวบรวม 5 ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นปากมาให้แล้ว มาดูกันเลยค่ะ

   1.การทำความสะอาดช่องปาก : ให้เพื่อน ๆ ดูวิธีการแปรงฟันของตัวเองเป็นอันดับแรกว่าแปรงฟันถูกวิธีและสะอาดเพียงพอหรือไม่ เพราะการแปรงฟันเพียงอย่างเดียวอาจจะกำจัดคราบสกปรกและเศษอาหารตกค้างได้ไม่เพียงพอ ดังนั้นก่อนการแปรงฟันหรือหลังรับประทานอาหาร ให้ใช้ไม้จิ้มฟัน หรือไหมขัดฟัน เป็นตัวช่วยเสริมในการทำความสะอาดช่องปากของเราก่อนแปรงฟันค่ะ และต้องไม่ลืมแปรงลิ้นด้วย เพราะบริเวณลิ้นก็เป็นแหล่งจะสมแบคทีเรียหรือเศษอาหารไม่แพ้ที่ฟันเลยล่ะค่ะ

   2.แผลในช่องปาก : หากเพื่อน ๆ มั่นใจว่าทำความสะอาดช่องปากถูกวิธีแล้ว แต่ก็ยังคงมีกลิ่นปากมากวนใจ ให้ลองสังเกตุดูว่ามีแผลภายในช่องปากหรือไม่ค่ะ เช่น แผลจากการถอนฟัน, แผลจากการผ่าตัดภายในช่องปาก, ร้อนใน เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นปากได้เช่นกัน รวมไปถึงพฤติกรรมที่ชอบแปรงฟันแรง ๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดแผลในช่องปากได้ด้วยค่ะ

   3.ฟันผุ : ฟันผุก็เป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ก่อให้เกิดกลิ่นปากค่ะ เพราะหากพบว่ามีฟันผุแล้วไม่รีบไปทำการรักษา ปล่อยให้อาการผุลุกลามและรุนแรงขึ้นจนทะลุเข้าไปถึงโพรงประสาทฟัน เมื่อประสาทฟันอักเสบ มีหนอง ก็ส่งผลให้ช่องปากของเรามีกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ออกมานั่นเองค่ะ

   4.เหงือกอักเสบ : เหงือกอักเสบหรือโรคปริทัตน์ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้กลิ่นปากค่ะ เกิดมาจากการแปรงฟันที่ไม่สะอาดจนเกิดการสะสมของหินปูนที่มากจนเกินไป ส่งผลให้เหงือกอ้าออกจนกลายเป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรก และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาก็คือ กลิ่นปากนั่นเอง

   5.ใส่เครื่องมือในช่องปาก : หากมีการใส่ฟันปลอม หรือกำลังจัดฟันอยู่ ก็จะทำให้เกิดกลิ่นปากได้ง่ายกว่าใครเลยล่ะค่ะ เพราะมีโอกาสที่เศษอาหารจะติดและสะสมอยู่มากกว่า ดังนั้นจะต้องใส่ใจในเรื่องของการทำความสะอาดให้มากเป็นพิเศษนะคะ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับปัจจัยทั้ง 5 ข้อที่ทำให้เรามีกลิ่นปาก เพื่อน ๆ เข้าข่ายข้อไหนกันบ้างมั้ยเอ่ย หากอ่านครบทั้งหมดแล้วก็ยังไม่เจอสาเหตุ รอติดตามบทความหน้า เราจะมาดูกันต่อว่า กลิ่นปากที่เกิดจากปัจจัยภายนอกช่องปาก มีอะไรบ้างค่ะ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เสียวฟัน-01-01-01.jpg

กินอะไรก็จี๊ดด ! หรือจะเป็นอาการการเสียวฟัน?

อาการเสียวฟันเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใครจริง ๆ นะคะ ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น หนุ่มสาว หรือผู้สูงอายุ ก็สามารถเจอกับอาการเสียวฟันจนทำให้อรรถรสในการรับประทานอาหารลดลง จากจานโปรดกลายเป็นจานกล่อยไปซะแล้ว และตอนนี้เพื่อน ๆ กำลังสงสัยกันอยู่เลยใช่มั้ยเอ่ย ว่าอาการเสียวฟันเกิดจากอะไร มาหาคำตอบไปพร้อมกันกับเซนิโทนี่เลยค่ะ

ฟันผุหยุดได้ด้วยการแปรงแห้ง-02.jpg

ฟันผุหยุดได้ด้วยการ “แปรงแห้ง”

เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่าการแปรงฟันที่เราทำเป็นกิจวัตรประจำวันนั้นเป็นตัวการที่ทำให้เราฟันผุ! โดยเฉพาะการบ้วนน้ำหลังการแปรงฟัน 
มารู้จักการแปรงฟันแบบแห้งกันเถอะ !!

เว็บ-02-02.jpg

ฟันผุแล้ว ทำยังไงดีนะ ??

ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ที่เซนิโทนี่ได้แนะนำวิธีการแปรงฟันแบบแห้ง เพื่อลดการเกิดฟันผุ แต่หลายคนคงจะมีคำถามว่า “ฟันผุไปแล้ว จะต้องทำยังไง?”  วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้วค่ะ แต่ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า ฟันของเราผุในระดับไหนแล้วกันค่ะ

ทำฟันอย่างไรให้ปลอดภัย-01.jpg

มาทำฟันยังไงให้ปลอดภัยช่วงโควิด - 19

เซนิโทนี่จะมาแนะนำวิธีปฏิบัติตัวของคนไข้เมื่อจะมาเข้ารับบริการที่คลินิก หลังจากที่ได้ทำการนัดหมายล่วงแล้ว คนไข้จะต้องเตรียมตัว อย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

ฟันผุทำยังไงดีนะ?.jpg

ฟันผุแล้ว ทำยังไงดีนะ ?? EP2

เรายังคงอยู่กับหัวข้อเกี่ยวกับการฟันผุกันค่ะ ต่อเนื่องจากคราวที่แล้วเราได้รู้แล้วว่าฟันผุมีกี่ระยะ และในแต่ระยะก็จะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการอุดฟัน หรือรักษารากฟัน วันนี้เซนิโทนี่จะมาแนะนำให้เพื่อน ๆ ได้รู้กันว่าแต่ละวิธีนั้นเป็นยังไง จะได้เตรียมตัว เตรียมใจ ให้พร้อมรับการรักษากันค่ะ

ขั้นตอนการเตรียมเซนิโทนี่โควิด-01.jpg

ขั้นตอนการเตรียมตัวของเซนิโทนี่ในช่วง

โควิด - 19

ประกาศแนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อทางทันตกรรมในสถานการณ์ COVID – 19 ของทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฉบับที่ 1 วันที่ 21 เมษายน 2563 ทางคลินิกทันตกรรมเซนิโทนีไม่ได้นิ่งเฉยและตอบรับแนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ดังนี้

  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
bottom of page