สวัสดีค่ะทุกคน วันนี้เซนิโทนี่มาพร้อมกับบทความดี ๆ อีกแล้วค่ะ คราวนี้เราจะว่ากันด้วยเรื่องของ “ฟันคุด” ที่หลาย ๆ คนจะรู้สึกกลัว และไม่อยากเป็นเอาซะเลย ฟันคุดจะน่ากลัวอย่างที่คิดหรือไม่?? มาดูกันได้เลยค่ะ~~
ฟันคุดเป็นอย่างไร?
ฟันคุด คือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ตามปกติ หรืออาจจะโผล่ขึ้นมาแบบไม่เต็มซี่ เนื่องมาจากพื้นที่ของขากรรไกรไม่เพียงพอให้ฟันซี่นั้นโผล่ขึ้นมานั่นเองค่ะ (โธ่ น้องฟันคุดที่น่าสงสาร) ทำให้ฟันคุดมักจะอยู่ในตำแหน่งของฟันกรามซี่สุดท้าย โดยปกติฟันซี่นี้จะโผล่ขึ้นมาในช่วงอายุ 18 – 25 ปีค่ะ
ประเภทของฟันคุด
ประเภทของฟันสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของมันเลยค่ะ และความยากง่ายในการรักษาก็จะขึ้นอยู่กับประเภทของฟันคุดด้วยเช่นกัน
ฟันคุดแบบขึ้นเต็มซี่ : ลักษณะนี้ คือ ฟันคุดได้โผล่ขึ้นแล้ว
ฟันคุดแบบมีเหงือกปกคลุม : ลักษณะนี้ คือ ฟันคุดที่กำลังจะโผล่ขึ้นมาค่ะ
ฟันคุดแบบที่ฝังอยู่ : ลักษณะนี้ คือ ฟันคุดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะยังไม่โผล่ขึ้นมา หรืออาจจะไม่โผล่ขึ้นมาเลย เนื่องจากอาจจะอยู่ในลักษณะที่เอียง หรือนอนเป็นเป็นแนวราบค่ะ
ลักษณะอาการของคนที่มีฟันคุด
คนที่ฟันคุดกำลังจะขึ้น หรือโผล่ขึ้นมาแล้ว จะมีอาการปวดฟัน และปวดมากในกรณีที่ฟันคุดมีลักษณะเอียง เพราะจะไปเบียดกับฟันซี่อื่นค่ะ ในบางกรณีอาจเกิดการบวมที่แก้ม เนื่องมาจากการอักเสบของเหงือกบริเวณที่มีฟันคุด หากเพื่อน ๆ มีอาการดังกล่าวเซนิโทนีแนะนำว่าให้รีบเข้ามาพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา เก็บเอาไว้จะมีแต่ผลเสียค่ะ
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก
ณัฐเมศร์ วงศ์สิริฉัตร. (2560). เมื่อคุณฟันคุดจะทำอย่างไร.
หากคนไข้มีปัญหาเรื่องฟัน : คนไข้สามารถติดต่อเพื่อนัดหมายล่วงหรือปรึกษาเรื่องการรักษาได้ที่
LINE ID: @Zenitonidental
โทร : 02-006-5759
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
05 พฤษภาคม 2020
ขั้นตอนการเตรียมตัวของเซนิโทนี่ในช่วง
โควิด - 19
ประกาศแนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อทางทันตกรรมในสถานการณ์ COVID – 19 ของทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฉบับที่ 1 วันที่ 21 เมษายน 2563 ทางคลินิกทันตกรรมเซนิโทนีไม่ได้นิ่งเฉยและตอบรับแนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ดังนี้