เรายังคงอยู่กับหัวข้อเกี่ยวกับการฟันผุกันค่ะ ต่อเนื่องจากคราวที่แล้วเราได้รู้แล้วว่าฟันผุมีกี่ระยะ และในแต่ระยะก็จะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการอุดฟัน หรือรักษารากฟัน วันนี้เซนิโทนี่จะมาแนะนำให้เพื่อน ๆ ได้รู้กันว่าแต่ละวิธีนั้นเป็นยังไง จะได้เตรียมตัว เตรียมใจ ให้พร้อมรับการรักษากันค่ะ
การอุดฟัน
การเติมเต็มเนื้อฟันที่เสียหายจากฟันผุ หรือฟันที่เกิดการบิ่น หัก จากอุบัติเหตุต่าง ๆ ด้วยวัสดุทดแทน เพื่อทำให้ฟันของเรากลับมาสวยงาม และเคี้ยวอาหารได้ตามปกติเหมือนเดิม นอกจากเรื่องของความสวยงามแล้ว ยังช่วยลดการลุกลามของการผุได้อีกด้วย เพราะคุณหมอได้ขูดฟันในส่วนที่ผุออกไปหมดแล้วนั่นเองค่ะ
วัสดุทดแทนที่ใช้ในการอุดฟัน ที่ได้รับความนิยมจะมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้
1. วัสดุอุดโลหะ (อะมัลกัม) ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะราคาไม่แพง มีความคงทน แต่ไม่ค่อยสวยงาม เหมาะสำหรับใช้อุดฟันในตำแหน่งที่มองไม่เห็น เช่น ฟันกราม
2. วัสดุอุดสีเหมือนฟัน (เรซินคอมโพสิต) ได้รับความนิยมมากเช่นกันค่ะ เพราะวัสดุจะเป็นสีเดียวกับฟันของเราเลย ทำให้มองดูสวยงาม แต่ราคาจะสูงกว่าอะมัลกัม และมีความคงทนน้อยกว่า เหมาะกับการใช้อุดฟันในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่าย เช่น ฟันหน้า
การรักษารากฟัน
การยับยั้งการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันที่เกิดจากฟันผุที่รุนแรง โดยจะมีการทำความสะอาดโพรงฟันและคลองรากฟันด้วยยาฆ่าเชื้อ ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาในการรักษาค่อนข้างนาน ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลค่ะ หลังจากนั้นคุณหมอจะทำการอุดคลองรากฟันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อได้อีก และอาจต้องมีการทำครอบฟันเพิ่มเติม ทำให้วิธีการรักษาแบบนี้มีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าวิธีการอื่นค่ะ
ทั้งนี้ทั้งนั้นการรักษาจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอว่าคนไข้ควรได้รับการรักษาแบบไหน ทางที่ดีที่สุดคือ การรักษาสุขภาพช่องปาก โดยการแปรงฟันให้ถูกวิธี และหากพบว่าตัวเองมีฟันผุ ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ก็ต้องเข้ามาทำการรักษานะคะ อย่าปล่อยให้ลุกลาม เพราะจะไม่ได้เจ็บแค่ฟัน แต่จะเจ็บไปถึงกระเป๋าสตางค์เลยล่ะค่ะ
หากคนไข้มีปัญหาเรื่องฟัน : คนไข้สามารถติดต่อเพื่อนัดหมายล่วงหรือปรึกษาเรื่องการรักษาได้ที่
LINE ID: @Zenitonidental
โทร : 02-0355665
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
05 พฤษภาคม 2020
ขั้นตอนการเตรียมตัวของเซนิโทนี่ในช่วง
โควิด - 19
ประกาศแนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อทางทันตกรรมในสถานการณ์ COVID – 19 ของทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฉบับที่ 1 วันที่ 21 เมษายน 2563 ทางคลินิกทันตกรรมเซนิโทนีไม่ได้นิ่งเฉยและตอบรับแนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ดังนี้